ประวัติความเป็นมา


ขนมกุยช่าย หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งชนิดอื่นและน้ำปริมาณที่เหมาะสม อาจเติมน้ำมันด้วยก็ได้ มาตั้งไฟกวนจนแป้งร่อนออกจากภาชนะ นวดจนเนียนนุ่ม อาจแต่งสีด้วยส่วนประกอบอื่น เช่น ดอกอัญชัน ใบเตย แบ่งเป็นก้อนเล็กๆ แผ่เป็นแผ่นบาง บรรจุไส้ที่ทำจากต้นกุยช่ายที่หั่นเป็นท่อนสั้นๆ ผัดกับน้ำมัน อาจเติมเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ ซอสปรุงรส ซีอิ๊ว น้ำตาลห่อให้ปิดสนิทเป็นรูปร่างต่างๆ นำไปนึ่งให้สุกที่อุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสม อาจทาน้ำมัน โรยกระเทียมเจียว หรือนำไปทอดให้ผิวด้านนอกกรอบ หรืออาจได้จากการนำแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งชนิดอื่นและน้ำในปริมาณที่เหมาะสม อาจเติมน้ำมันด้วยก็ได้ มาผสมกับต้นกุยช่ายที่หั่นเป็นท่อนสั้นๆ เติมเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ ซอสปรุงรส ซีอิ๊ว น้ำตาลเทใส่ถาด นำไปนึ่งให้สุกที่อุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสม ตัดเป็นชิ้น อาจโรยกระเทียมเจียวหรือนำไปทอดให้ผิวด้านนอกกรอบ



  ขนมกุยช่าย เป็นขนมของชาวจีนแต้จิ๋ว เรียกว่า กุยช่ายก้วย ใช้แป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ไส้ทำจากกุยช่ายเท่านั้น ส่วนกุยช่ายของไทยมีหลากหลายไส้ เช่น ไส้เผือก ไส้หน่อไม้ ไส้มันแกวเป็นต้น
ขนมกุยช่ายในไทยมี 3 แบบมีทั้งแบบเป็นก้อนกลม แบบถาด คือใส่กุยช่ายกวนไปพร้อมกับแป้งแล้วนึ่ง และแบบข้าวเกรียบปากหม้อ

กุยช่าย เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บางท้องถิ่นเรียกว่า ผักแป้น มีลักษณะลำต้นที่เป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ส่วนใบจะมีสีเขียวคล้ายใบกระเทียมเป็นส่วนที่อยู่เหนือดิน สูงประมาณ 30-45 เซนติเมตร ดอกจะแทงออกกลางลำต้น ก้านดอกมีลักษณะกลม เรียวยาว สูงกว่าใบเล็กน้อย ส่วนดอกจะอยู่ปลายสุด ดอกตูมด้านนอกมีลักษณะสีเขียว เมื่อบานจะมีลักษณะสีขาวหรือม่วง

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น